18.05.66
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารงานฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ครั้งที่ 1/2566
 

           ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ในฐานะคณะกรรมการนโยบายบริหารงานฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารงานฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1/2566 โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นประธานการประชุม ผ่านระบบออนไลน์



           การประชุมดังกล่าว ประกอบด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากกรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สภาหอการหอการค้าแห่งประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาองค์กรของผู้บริโภค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย



           ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารงานฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1/2566 นี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานฉลากเขียวประจำปี 2565 ความก้าวหน้าการขอรับรอง ISO 17065 พิจารณาแผนการดำเนินงานฉลากเขียวประจำปี 2566 พิจารณาความเสี่ยงต่อความเป็นกลางประจำปี 2566 การอนุมัติทบทวน/ปรับปรุงข้อกำหนด พิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองฉลากที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

           ทั้งนี้ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ที่ดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ | พันธกิจ "สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นองค์กรชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานสากลที่ยึดมั่นในความเป็นกลาง เพื่อร่วมสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน "

    • เสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ และทิศทางของประเทศด้านสิ่งแวดล้อม
    • พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และมาตรฐานสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่อ้างอิง
    • เสริมสร้างศักยภาพภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
    • สร้างความร่วมมือกับองค์กรหลักด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเครือข่ายระดับต่าง ๆ
    • รณรงค์สื่อสารให้ข้อมูลและความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมต่อสังคม
    • บริหารจัดการองค์กรด้วยธรรมาภิบาล


           สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นสถาบันวิชาการอิสระ มิได้แสวงหากำไร มีปรัชญาพื้นฐานการทำงานมุ่งเน้นการประสานให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุล และเป็นรากฐานสำคัญสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศและระดับโลก