04.11.66
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จัดบรรยายพิเศษ “การสร้างสรรค์ ประเด็นเนื้อหาผ่านสื่อมวลชน และสื่อสังคมออนไลน์”
 
         สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จัดบรรยายพิเศษ “Creativity Interesting Content & Issues in Social Media : การสร้างสรรค์ ประเด็นเนื้อหาให้น่าสนใจผ่านสื่อมวลชน และสื่อสังคมออนไลน์” โดย คุณกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ



         การบรรยาย ดังกล่าว ผู้บรรยายได้นำเสนอถึงประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ ประเด็นเนื้อหาให้น่าสนใจ เพื่อนำเสนอทั้งในสื่อสารมวลชน และสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้

         พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคปัจจุบัน ที่จดจ่อกับคอนเทนต์ทั่วไปน้อยลง อ่านเนื้อหาแค่ไม่กี่วินาที ให้ความสนใจในวีดีโอมากขึ้น รวมถึงผู้บริโภคเปลี่ยนมาเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคข่าวสารไปพร้อมกัน อาจสร้างคอนเทนต์ได้เร็วกว่าที่องค์กรตั้งใจจะสื่อสาร ดังนั้น ต้องเข้าใจความจริงที่ว่า คอนเทนต์มีปริมาณที่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้บริโภคมีการรับรู้จำกัด แม้ว่าจะทำคอนเทนต์ให้ดี น่าสนใจแค่ไหน ก็อาจไม่ถูกเห็น เนื่องจากทุกแพลตฟอร์มมี algorithm ที่สร้างการแนะนำตามความสนใจของผู้บริโภคจริง ๆ

5 เทคนิคการเขียนโพสต์

        1. ตั้งคำถาม ชวนให้สงสัย
        2. ขึ้นต้นด้วยตัวเลข สถิติ หรือวาทะดี ๆ
        3. ประโยชน์ สิทธิพิเศษ ที่คนอ่านจะได้รับ
        4. ปัญหาที่คนมักพบเจอ และวิธีแก้ไข
        5. บอกภาพรวมที่จะพูดถึงทั้งหมด

         ตัวอย่างเทคนิคการเพิ่ม reach ก็คือการเลือกเวลาที่ดี เหมาะสมที่สุดในการโพสต์ เลือกประเภทเนื้อหาที่ผู้บริโภคสนใจ เช่น วิดีโอยาว วิดีโอสั้น การวางแผนในการโพสต์คอนเทนต์ให้ดี จะต้องเลือกทั้งเวลา แพลตฟอร์ม รูปแบบของเนื้อหา และ เนื้อหา ให้เหมาะสม (Right Time, Right Platform, Right Format, Right Content) ทั้งที่เป็นคอนเทนต์ที่วางแผนไว้ล่วงหน้าได้ (Ever Green Content) โพสต์เมื่อไรก็ได้ คอนเทนต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คนสนใจในช่วงนั้น(Real-time Content) โดยอาจเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเรื่องราวขององค์กรด้วยก็ได้



         หมายเหตุ การบรรยาย นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมตามหลักสูตร การบริหารงานสื่อสาร [ Executive Communications Program : EXCOMM – PR Thailand ] “ PR and Marketing Communications Up-skill & Re-skill : พัฒนาทักษะเดิม เพิ่มเติมกระบวนทัศน์ใหม่ทางการสื่อสาร เพื่อรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง”